บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2010

โรคสนิม หรือแผลไหม ตามตัวกุ้ง วิธีแก้ 2

รูปภาพ
การรักษา: 1.ใช้สารเคมีกลุ่มไอโอดีน 2.ใช้ยาในกลุ่มยาปฏิชีวนะ การป้องกัน: 1.ควบคุมปริมาณอาหารที่ให้อยู่ในระดับเหมาะสม 2.การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ และควบคุมปัจจัยต่างๆ ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ควร รักษาคุณภาพของน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากหากว่าคุณภาพน้ำไม่ดี กุ้งจะลอกคราบไม่ผ่าน และโรคสนิมนี้จะลุกลามเร็วมาก มีอัตราการตายสูง วิธี รักษาเบื้องต้น คือ การถ่ายน้ำและเร่งให้กุ้งลอกคราบออกเสีย จากนั้นจึงตักคราบทิ้งทันที เร่งการลอกคราบทำได้โดยการถ่ายน้ำด้วยน้ำที่มีค่า Alkalinity สูงกว่าอยู่ในตู้ หรือปรับน้ำให้มีค่าอยู่ในช่วงที่จะกระตุ้นได้ ( น้ำจืด 80 – 100 ppm น้ำเค็ม 150 – 200 ppm ) หากยังเป็นโรคนี้ขึ้นมาอีกให้ใช้ยา Chioramphenicol 5-7 MG ผสมอาหาร 1 ขีด ให้กินติดต่อกันจนกว่าจะหาย ( ควรคำนวณให้ดี ก่อนจะมีการตวงนะครับ ) โดยปกติแล้วกุ้งที่มีสุขภาพดี และ คุณภาพน้ำเหมาะสม จะลอกคราบเดือนละ 1 – 2 ครั้ง ขึ้นกับชนิดและวัยของกุ้งด้วย ซึ่งถึงแม้ว่ากุ้งจะไม่ค่อยเป็นโรค แต่ถ้าเป็นแล้วจะรุนแรง และ สูญเสียเร็วมาก จึงต้องมีการเอาใจใส่เป็นอย่างดีครับ

กุ้งใครที่เป็นโรคสนิมทำงัยดี วิธีแก้1

รูปภาพ
 ครับ... สำหรับกุ้งใครที่เป็นโรคสนิมก็ลองใช้ดูครับ หาซื้อได้ที่ร้านขายต้นไม้ทั่วไป บอกเขาว่าเอา EM ที่ขยายแล้ว (เพราะมันจะมีที่ยังไม่ขยายอยู่ จุลินทรีย์จะไม่แช็งแรงเท่าEMที่ขยายแล้ว) ปกติเขาจะใช้กับต้นไม้กัน แต่อย่าตกใจนะครับ มันใช้กับกุ้งได้...    ราคา : เขาจะใส่ขวดน้ำประมาณ2ลิตร(ที่ผมซื้อมา) ประมาณ30บาทครับ    วิธีการใช้ : ตู้ขนาด36นิ้ว ใช้ประมาณครึ่งฝา(ฝาแบบฝาขวดแป็ปซี่ลิตรอะครับ) ขนาด20นิ้วก็2/5ของฝาอะครับ 64นิ้วก็1ฝาเลยครับ    ผล : ที่ผมใช้มาแทบจะหายขาดเลยจากที่ลามเป็นทั้งกล้าม พอใช้มาหลังลอกคราบยันบัดนี้ไม่สังเกตุจะไม่เห็นเลยครับ และ สามารถใช้รวมกับกุ้งที่ไม่ได้เป็นโรคสนิมได้ ครับ    หาได้จาก : ร้านขายยาต้นไม้ทั้วไปครับ    รายละเอียด : EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง " ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของโลกจากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ 2510

ตู้เลี้ยงกุ้งเครฟิชขนาด30นิ้ว เลี้ยงได้กี่ตัว ต้องทำอย่างไรบ้าง

รูปภาพ
1.ตู้กุ้งเครฟิชประมาณ 30 นิ้วนี่เลี้ยงได้กี่ตัวครับ ตอบ : ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ขนาดของกุ้งที่จะเลี้ยง และการจัดตู้ครับ ถ้าให้แนะนำก็ สองตัวครับ ... 2.ต้องมีกรองใหม  (ถ้ามี ข้าง  หรือ  แขวน อันใหนดีกว่ากัน ) ตอบ : แล้วแต่งบประมาณ และพื้นที่ตั้งตู้ครับ กรองแขวนเสียงน้ำจะดังหน่อย ง่ายแต่น้ำใสดี 3.ต้องมีพืชน้ำในตู้ด้วยใหมครับ ตอบ : พืชน้ำไม่จำเป็นครับ ถ้าจะใส่ไว้ให้กุ้งกินเล่น ก็ ok  ครับ แต่ก็ต้องหมั่นดูแลทำความสะอาดตู้บ่อยหน่อย 4.ออกซิเจนต้องมีใหมหว่า ตอบ : มีก็ได้หรือไม่มีก็ได้ครับ แต่มีจะดีกว่าครับ แต่ถ้าใช้กรองแขวนตามข้อ 2 ไม่ต้องมีก็ได้ครับ

วิธีสังเกตกุ้งที่กำลังจะลอกคาบคับ

รูปภาพ
ผมลองแล้วได้ผลคับ เหมาะสำหรับเพื่อนๆที่เลี้ยงกุ้งรวมกันหลายๆตัวคับ ก็คือว่า ให้ดูจากส่วนหัวของกุ้ง มันจะเริ่มเปิดออกจากลำตัว (น้อยมากต้องดูดีๆ) แต่ถ้าเทียบกับกุ้งตัวอื่นจะเห็นได้ชัด ไม่ต้องดูทุกตัวคับ ดูแต่ตัวที่มันไม่ได้ลอกนานแล้ว ถ้าสังเกตเห็นแล้ว อีกประมาณ 6-8 ชั่วโมงมันจะลอกคับ ให้นำมันแยกจากเพื่อนๆมันได้เลยคับ แล้วกุ้งจะลอกออกมาแล้วสมบูรณ์คับ แต่ถ้าวิธีนี้เพื่อนรู้กันแล้วก็ต้องขอโทษด้วยนะคับ ขอบคุณคับที่อ่าน

เทคนิคการเลี้ยงปลามังกร

รูปภาพ
เทคนิคการเลี้ยงปลามังกรให้โตเร็ว การเลี้ยงปลาอะโรวาน่าไม่ให้ตายไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปนัก แต่การที่จะเลี้ยงให้โตเร็วและแข็งแรงผู้เลี้ยงจำเป็นจะต้องศึกษาเทคนิคการเลี้ยงปลาที่ถูกวิธี การเลี้ยงปลาให้โตเร็วมีปัจจัยสำคัญดังนี้ 1. อาหาร อาหาร ควรเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะคุณค่าทางโปรตีนและแคลเซียมซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาโดยตรง ดังนั้นการให้อาหารโดยลูกกุ้งเป็น ๆ ดูจะให้ผลดีที่สุด (ทางร้านราชาปลาทองได้ให้ปลาที่ร้านกินกู้งฝอยอย่างเดียว) เนื่องจากน่าจะให้คุณค่าทางอาหารครบถ้วน แมลงสาบไม่ควรนำมาเป็นอาหารปลา เนื่องจากเป็นภาหะนำเชื้อโรคมาสู่ปลาได้และยังอาจนำสารพิษมาสู่ปลาได้ด้วย โดยเฉพาะแมลงสาบที่มีอาการเซื่องซึมไม่ควรนำมาให้ปลากิน เนื่องจากอาจได้รับสารพิษจากยาฆ่าแมลงซึ่งเจ้าหน้าที่ กทม. นำมาฉีดตามท่ระบายน้ำ ซึ่งเมื่อปลากินแมลงสาบเข้าไป สารเคมีที่ตกค้างอยู่ในตัวแมลงสาบจะแทรกซึมเข้าสู่ปลาและอาจทำให้ปลาล้มป่วยหรือตายได้ ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เคยประสบกับนักเลี้ยงปลาหลายลายทีเดียว นับว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ปลาสวย ๆ ราคาแพง ๆ ต้องมาจบ ชีวิตลงเพราะแมลงสาบ สำหรับอาหารปลาที่จะนำ

การเลี้ยงกุ้งเครฟิชเชิงพาณิชย์

รูปภาพ
ลุงฉะอ้อน เผนโคกสูง เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด จ.นครราชสีมา เจ้าของผลงานกบคอนโด มีการคิดค้นวิธีการเลี้ยงแบบใหม่ เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าให้สินค้า ซึ่งล่าสุดนำกุ้งเครฟิชมาเลี้ยงจนประสบความสำเร็จ เพราะนอกจากจะเลี้ยงเป็นกุ้งสวยงามในตู้ปลาแล้ว ยังสามารถเลี้ยงเชิงพาณิชย์รายได้งามอีกด้วย การเลี้ยงกุ้งเครฟิชเชิงพาณิชย์      การเตรียมบ่อ ลักษณะสร้างบ่อ    ใช้ไม้ไผ่ปักเป็นหลักไว้ 4 มุมแล้วเตรียมพลาสติกใส หรือพลาสติกสีดำขนาดยาว 4 เมตร กว้าง 2 เมตร ลึก 50 เซนติเมตรนำมุมพลาสติกทั้ง 4 มุมมามัดติดกับหลักไม้ไผ่ทำเป็นบ่อและยกให้ขอบบ่อสูงขึ้นหลังจากใส่น้ำ ยกให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร ขั้นตอนการเลี้ยง           เมื่อได้บ่อแล้วให้ปล่อยน้ำเข้าไปในระดับน้ำสูงประมาณ 40 เซนติเมตรนำ กุ้ง เครฟิชพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์จำนวน 1 คู่ มาปล่อยในบ่อ           การเลี้ยง กุ้ง เครฟิชสำหรับตัวเมียจะมีการวางไข่ทุก 4-6 เดือน เมื่อเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ ได้อายุประมาณ 4-6 เดือนให้เริ่มตัก กุ้ง ขึ้นมาดูว่ามีการออกไข่หรือยังถ้ามีการออกไข่แล้วให้นำ กุ้ง แยกออกมาโดยนำมาใส่ไว้ในตะกร้าสี่เหลี่ยมที่มีรูระบาย ใช้ตะกร้า 2

วิธีการเลี้ยงกุ้งเครฟิสในตู้(แบบง่ายมากๆๆๆๆ)

รูปภาพ
ควรจะใช้ตู้ที่มีขนาด 24 นิ้วขึ้นไปและมีระบบกรองน้ำในตัว ในแต่ละตู้จะเลี้ยงกุ้งชนิดนี้เพียง 1-2 ตัวเท่านั้น เนื่องจากนิสัยของกุ้งเครฟิสจะคล้ายกับปลาหมอสี ที่มักจะหวงถิ่นและชอบรังแกตัวที่อ่อนกว่า บางครั้งพบการกินกันก็มี ตู้ปลาควรรองพื้นตู้ด้วยก้อนกรวดหินสีต่าง ๆ สำหรับผู้เลี้ยงที่รักศิลปะอาจจะเลือกสีของกรวดให้ตัดกับตัวกุ้งเครฟิสก็ได้ พันธุ์ไม้น้ำไม่เหมาะที่จะนำมาใส่ไว้ในตู้เพราะกุ้งเครฟิสจะใช้ก้ามตัดและรื้อทำลายจนหมดควรหากระถางหรือแจกันดินเผาหรือท่อ PVC หรือขอนไม้เพื่อให้กุ้งได้เป็นที่หลบซ่อนตัว อาหารหลักที่ใช้เลี้ยงกุ้งเครฟิสจะใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปประเภทอาหารจม และควรจะเสริมด้วยอาหารสด เช่น หนอนนก เพื่อเพิ่มโปรตีนช่วยให้กุ้งมีสีสด โตเร็วและก้ามโต แต่ข้อควรระวังในการใช้อาหารสดคือน้ำที่ใช้เลี้ยงอาจจะเสียได้ จะต้องหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำโดยในการเปลี่ยนแต่ละครั้งควรเปลี่ยนน้ำเก่าออกประมาณ 20-30% ของตู้แล้วเติมน้ำสะอาดใหม่ลงไปทดแทนถ้าใช้น้ำคลอรีนควรพักน้ำในบ่อนานประมาณ 7-10 วัน คนที่เลี้ยงกุ้งเครฟิสจะหลงเสน่ห์ของกุ้ง  สวยงามชนิดนี้ ผู้เลี้ยงจะได้เห็นพัฒนาการของกุ้งในแต่ละช่วงชีวิต ตั้งแต่ลู

"เครย์ฟิช" สัตว์เลี้ยงวัยโจ๋

รูปภาพ
สัตว์เลี้ยงสวยงาม ดวงกมล โลหศรีสกุล "เครย์ฟิช" กุ้งสีสวย ขวัญใจวัยโจ๋ กำลังฮอตฮิตในหมู่วัยรุ่นและบรรดานักเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงาม สำหรับ "กุ้งเครย์ฟิช" (Crayfish) หรือกุ้งสี สัตว์น้ำจืดที่มีสีสันสวยงาม โครงสร้างร่างกายแข็งแรง เลี้ยงง่าย มีมากกว่า 200 สายพันธุ์ ยิ่งตอนนี้เทรนด์การจัดตู้ปลาสวยงามเข้ามามีบทบาท ส่งผลให้ผู้รักสัตว์หน้าใหม่หันมาสนใจกุ้งชนิดนี้กันมากขึ้น ฉะนั้น เพื่อไม่ให้ตกกระแส เทคโนโลยีชาวบ้าน มีข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับสัตว์น้ำดังกล่าวมานำเสนอ กุ้งสีทำเงิน กำเนิดธุรกิจ คุณวสันต์ สว่างแจ้ง หรือ คุณต้น ฐานะเจ้าของฟาร์มไฮโดรเครย์ฟิช ผู้เพาะพันธุ์และจัดจำหน่ายกุ้งเครย์ฟิช หรือกุ้งสวยงาม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์น้ำชนิดนี้ว่า กุ้งเครย์ฟิชในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ "สาย P" (Procambarus) หรือกุ้งก้ามหนาม ถิ่นกำเนิดอยู่โซนทวีปอเมริกาและยุโรป ก้ามเล็ก ช่วงลำตัวสั้น โตเต็มที่ยาวประมาณ 4-5 นิ้ว บรรดามือใหม่หัดเลี้ยงจะชอบกุ้งสายนี้ เนื่องจากเลี้ยงง่ายและโตเร็ว สีที่ขายดี ได้แก่ ไบรท์ออเรนจ์หรือสีแดง เเละออเรนจ์นี่บลู (สีฟ้า) อีกประเภ

กุ้งอีเรียนจายา สุดฮ็อด

รูปภาพ
ปัจจุบันวงการสัตว์เลี้ยงสวยงามมีสัตว์หน้าตาแปลก ๆ ชนิดใหม่ ๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ มาให้ผู้ที่มีความชอบได้รู้จักหรือได้เลี้ยงกัน สำหรับผู้ที่มีพื้นที่เลี้ยงสัตว์น้อย แน่นอนสัตว์เลี้ยงประเภทเลี้ยงในตู้ได้ย่อมเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ อย่างเช่น การเลี้ยง “ กุ้งอีเรียนจายา ” ซึ่งจัดเป็นกุ้งสวยงามชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอยู่ในกุ้งสกุลชีแรค กุ้งอีเรียนจายาถือว่าเป็นกุ้งชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามที่สุด ด้วยสีของตัวกุ้งจะมีสีม่วงสดคล้ายปีกของแมลงทับดูสวยงามมาก ส่วน ระยางค์ขาเดิน ขาว่ายน้ำ และก้ามจะมีสีฟ้าสด ขอบของก้ามด้านนอกมีแถบสีเหลือง ปลายระยางค์หางจะมีขอบสีเหลืองสดสะดุดตา ซึ่งกุ้งอีเรียนจายานอกจากจะมีสีม่วงปีกแมลงทับแล้วก็พบว่า ยังมีสีน้ำเงินเข้มเกือบดำด้วย หรือเรียกว่าสี dark–blue คุณจิตรา ภรณ์ ฟองอิสสระ ผู้ที่มีประสบ การณ์เลี้ยงกุ้งอีเรียนจายา ชาวแขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กท. เล่าให้ฟังว่า กุ้งอีเรียนจายาเป็นกุ้งที่มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะปาปัวนิวกินี ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของโลก จากนั้นกุ้งชนิดนี้ก็ได้แพร่หลายสู่นักเลี้ยงกุ้งสวยงาม นิสัยของ

มารู้จักเรนโบว์กันมากขึ้นครับ

รูปภาพ
ชื่อที่เรียกกัน : กุ้งเรนโบว์( ไทย ) หรือ Redclaw Clayfish( สามัญ ) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cherax quadricarinatus' รูปร่าง ตัว ผู้ที่โตแล้วจะมีสีแดงที่ก้ามด้านนอกทั้ง 2 ข้าง มันจึงได้ชื่อว่า Red claw กุ้งเรนโบว์ส่วนมากจะมีสีฟ้ามอมเขียว อย่างไรก็ตามสีของตัวกุ้งเองก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย(กุ้งที่พบใน ธรรมชาติ) มีน้ำหนักในส่วนหางเป็น 25% ของน้ำหนักตัวทั้งหมด กุ้งที่หนักที่สุดที่ถูกค้นพบมีน้ำหนักราวๆครึ่งกิโลกรัม ซึ่งกุ้งส่วนมากที่วางขายอยู่จกมีน้ำหนักประมาณ 50-100 กรัม การขยายพันธ์ การ สืบพันธ์ของตัวกุ้งจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิน้ำ เมื่ออยู่ในช่วงจับคู่ ตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าไปที่ด้านล่างลำตัวของตัวเมียบริเวณรยางค์ขา กุ้งตัวเมียจะออกไข่ภายใน 24 ชั่วโมง ไข่จะติดอยู่กับรยางค์ว่ายน้ำบริเวณใต้หาง ตัวเมียจะสลัดไข่ทิ้งหากโดนรบกวนภายใน 48 ชม. หลังจากออกไข่ จำนวนของไข่ใน 1 ครอกขึ้นอยู่กับขนาดของตัวเมีย ซึ่งจะอยู่ที่ราวๆ 200-1,000 ฟอง ที่อุณหภูมิ 24-27 องศา ไข่จะฟักตัวภายใน 10 อาทิตย์   ลูกกุ้งที่เกิดใหม่จะพร้อมผสมพันธ์เมื่ออายุ 12 เดือน อาหารการกิน กุ้ง เรนโบว์เป็นพวกกินทั้งเน