เริ่มต้นเลี้ยงเครฟิช



PDFพิมพ์อีเมล

มีเงื่อนไขที่ผู้เลี้ยงต้องทำความเข้าใจกันก่อนดังนี้

  • ความรับผิดชอบเป็นสิ่งสำคัญ : ก่อนจะซื้อกุ้งเครฟิชมาเลี้ยงควรถามตัวเองก่อนว่าสามารถรับผิดชอบเลี้ยงดูด้วยตนเองได้หรือไม่ โดยเฉพาะน้อง ๆ เด็ก ๆ เพราะว่าการตัดสินใจนำเค้ามาเลี้ยงนั้น ผู้เลี้ยงต้องยอมรับภาระที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งการให้อาหาร เปลี่ยนถ่ายน้ำ ดูดเศษอาหาร ล้างตู้ ฯลฯ ผู้เลี้ยงบางคนช่วงแรก ๆ กำลังเห่อก็ดูแลดีครับ แต่พอเบื่อแล้วก็เลี้ยงแบบทิ้งขว้าง หากเบื่อหรือไม่มีเวลาดูแล ห้ามนำไปปล่อยในแม่น้ำอย่างเด็ดขาด เพราะเครฟิชเป็นสัตว์ต่างถิ่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ในแหล่งน้ำของไทยอย่างรุนแรง ถ้าเลี้ยงไม่ไหวแนะนำให้ประกาศขายหรือแจกเพื่อน ๆ จะดีกว่าครับ
  • ถ้ารักกันจริงต้องมีเวลาให้ : ถึงแม้ว่าเครฟิชไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากเท่าสุนัขหรือแมว แต่เครฟิชต้องการความรักความเอาใจใส่จากผู้เลี้ยงเช่นกัน ผู้เลี้ยงต้องมีเวลาให้อาหารวันละ 2 มือ และเปลี่ยนถ่ายน้ำตามกำหนดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะคุณภาพน้ำเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากโรคภัยต่าง ๆ ของเครฟิชส่วนใหญ่มาจากคุณภาพน้ำที่ไม่ดี มีเศษอาหารหมักหมม
  • ศึกษาข้อมูลก่อนคิดจะเลี้ยง : ควรศึกษาหาข้อมูลก่อนเลี้ยง สมมุติว่าอยากเลี้ยง Bright Orange (Procambarus Clarkii) ก็ให้ค้นหาข้อมูลที่จำเป็นต้องรู้ในการเลี้ยง เช่น ถิ่นกำเนิด ลักษณะนิสัย อาหารการกิน วิธีการเลี้ยงดู อุณหภูมิ ฯลฯ เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมในการเลี้ยงดูได้ถูกต้อง
  • ทุนทรัพย์และอุปกรณ์ : เตรียมงบประมาณไว้สำหรับค่าอุปกรณ์(ไม่รวมกุ้ง) 500-600 บาทก็สามารถเริ่มต้นเลี้ยงได้แล้วครับ
  • มีจิตใจอ่อนโยนรักสัตว์ : ข้อนี้สำคัญเพราะเป็นพื้นฐานของการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคการเลี้ยงปลามังกร

อาหารสำหรับอะโรวาน่า

การเลี้ยงกุ้งเครฟิช