ความเป็นมาของ Crayfish

Crayfish นั้นมีถิ่นกำเนิดกว้างขวางมาก ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเซียตะวันออก และออสเตรเลีย ในปัจจุบันมีการบรรยายอนุกรมวิธานของ Crayfish ไปมากกว่า500ชนิดแล้ว โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นเป็นCrayfish ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ ในธรรมชาติCrayfish จะอาศัยกกตัวอยู่ตามโขดหินหรือใต้ ขอนไม้อยู่ในทั้งลำธาร หนองน้ำ หรือแม้กระทั่งทะเลสาป
พูดมาถึงจุดนี้แล้วหลายๆท่านอาจจะยังสังสัย ว่า เอ๊ะ!ไอ้Crayfishที่ว่านี่มันคือตัวอะไร ทำไมชื่อไม่ค่อยคุ้นหู จริงๆแล้วเจ้าCrayfish ที่กำลังกล่าวถึงนี้เชื่อว่าทุกๆ คนนั้นรู้จักมันในนามของกุ้งล็อบสเตอร์น้ำจืดนั่นเอง
ในบทความนี้เรา จะขอจำแนกCrayfish แบบคร่าวๆละกัน ซึ่งแบบที่เข้าใจง่ายที่สุดน่าจะเป็นการแบ่งตามโซนถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือProcambarus ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาและยุโรป อีกกลุ่มหนึ่งคือCherax ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในโซน ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย  ส่วนการเลี้ยงดูCrayfish ทั้งสองกลุ่มนี้ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน จึงจะขอกล่าวรวมๆทีเดียวไปเลย
ตู้เลี้ยง
ใน กรณีที่ต้องการเลี้ยงCrayfish รวมกันหลายๆตัว ควรจะเลี้ยงในตู้ปลาที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่หน่อย อย่างเช่น ตู้ปลาขนาด24 นิ้วขึ้นไป เนื่องจากCrayfishนั้นมีนิสัยหวงถิ่นและค่อนข้างก้าวร้าว จึงต้องการตู้ เลี้ยงที่ค่อนข้างใหญ่หน่อยเพื่อให้กุ้งแต่ละตัวได้สร้างอาณาเขต ถ้าเลี้ยงในตู้ขนาดเล็ก อาจพบว่าจะมีการตบตี แย่งชิงที่อยู่ ก้ามใหญ่โตทั้งสองข้างนั้นไม่ได้มีไว้แค่ความสวยงามอย่างแน่นอน โดย Crayfishจะใช้ก้ามต่อสู้กันจนก้ามหัก ขาขาด บาดเจ็บหรือกระทบกระทั่งกันบาดเจ็บปางตายได้ เมื่อเลี้ยงCrayfish รวมกันอย่างหนาแน่น จะพบว่าCrayfishขนาดเล็กๆ มักจะถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกCrayfishที่มีขนาดใหญ่กว่ากินเป็นอาหารได้ การเลี้ยงในตู้เลี้ยงขนาดใหญ่จะช่วยลดโอกาสที่กุ้งแต่ละตัวจะโคจรมาพบกันและ ต่อสู้ กันได้ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรจะใส่ขอนไม้ กระถางต้นไม้แตกๆ กะลามะพร้าวที่เจาะเป็นโพรง หรือท่อพีวีซีตัด เป็นท่อนๆเพื่อให้เจ้าCrayfish ได้พักพิงหลบอาศัยในเวลากลางวัน ปกติแล้วช่วงกลางวันมันจะหาที่หมกตัวอยู่เงียบๆ แต่Crayfishจะออกมาจากที่ซ่อนเพื่อหาอาหารในเวลากลางคืนมากกว่า ผู้เลี้ยงอาจจะใส่วัสดุหลบซ่อนตัวไว้คนละมุมตู้เพื่อให้กุ้งได้สร้างอาณาเขต ของตนได้ชัดเจนมากขึ้น  เพราะว่าโดยธรรมชาติแล้ว อาณาเขตการหาอาหารของCrayfishแต่ละตัว จะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ40เซนติเมตร นอก จากนี้Crayfishยังขึ้นชื่อว่าเป็นจอมหายตัว ผู้เลี้ยงหลายๆท่านอาจจะตื่นเช้าขึ้นมาพบว่าเจ้าล๊อบสเตอร์ที่เลี้ยงไว้ ได้หายสาปสูญไป สันนิษฐานได้เลยว่าเจ้ากุ้งน้อยได้เล่นกายกรรมไต่สายออกซิเจนหลบหนีไปแล้ว ค้นหาดีๆจะพบซากกุ้งน้อยตากแห้งอยู่ใกล้ๆก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นตู้เลี้ยง Crayfish ควรจะมีฝาปิดให้มิดชิดด้วย

ความคิดเห็น

  1. หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่ชอบกุ้งสีนะครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคการเลี้ยงปลามังกร

อาหารสำหรับอะโรวาน่า

การเลี้ยงกุ้งเครฟิช